สมศ. จับมือ 32 มหาวิทยาลัย เปิดโครงการการนำผลประเมินไปใช้ฯ ภายใต้แนวคิด “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา” ให้กับศูนย์พัฒนาเด็ก- โรงเรียนนำผลประเมินไปใช้เพื่อยกระดับสถานศึกษากว่า 120 แห่งทั่วประเทศ

     สมศ. ยังคงเดินหน้าประเมินคุณภาพภายนอกและสนับสนุนให้สถานศึกษานำผลประเมินไปใช้ จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมการนำผลประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาหลังจากเข้ารับการประเมินภายนอก ได้ทราบหลักการ แนวทางที่จะนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะที่ได้รับไปปรับใช้อย่างมีระบบและเป็นรูปธรรม

     โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง สมศ. และหน่วยงานต้นสังกัด ทุกสังกัด ได้ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ และกิจกรรมสร้างสรรค์ รวมทั้งเครื่องมือการดำเนินงาน เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา พร้อมกันนี้ สมศ. ยังได้รับความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษา 32 แห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ฯลฯ ในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานขับเคลื่อนโครงการฯ อย่างครบวงจร พร้อมกับจัดหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษา สนับสนุน และติดตามผลดําเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

     ในเบื้องต้นมีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ แล้วกว่า 121 แห่ง ทั่วประเทศ แบ่งเป็นสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัย (ศูนย์พัฒนาเด็ก) 111 แห่ง และสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นฐาน 10 แห่ง โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนา และต่อยอดศักยภาพการศึกษาไทย ภายใต้แนวคิด ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา

     ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ  สมศ  กล่าวว่า สมศ.ยังคงเดินหน้าประเมินคุณภาพภายนอก โดยที่ สมศ.ร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัด ทุกสังกัด ร่วมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ทั้งเครื่องมือการดำเนินงาน และกิจกรรมใช้เป็นกรอบแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษา 32 แห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ฯลฯ เป็นศูนย์กลางประสานงานขับเคลื่อน โครงการอย่างครบวงจร

ที่มา: Facebook สมศ.(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา)
ขอขอบคุณ คุณธงฉัตร ภสส.สมศ.

     ผศ.ดร.กรุณา แดงสุวรรณ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และผู้เชี่ยวชาญศูนย์ประสานงาน กล่าวว่า จากการที่ได้ร่วมนำร่องโครงการฯให้กับสถานศึกษาในพื้นที่ กล่าวว่า การที่ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสถาบันอุดมศึกษา ได้ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ และเสนอแนะให้สถานศึกษานำผู้ปกครอง ผู้นำในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้เกิดการพัฒนามีความยั่งยืน และเป็นการส่งเสริมที่ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง

     ขณะที่ นายบรรหาญ จิตรหวัง ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนเทศบาล 1 (คลองแหอัจฉริยะ) กล่าวว่า การที่ศูนย์พัฒนาเด็กในอำเภอสะเดา สงขลา ได้เข้าร่วมโครงการนำร่อง ได้นำข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยทักษิณ มาปรับใช้ล้วนเป็นประโยชน์กับสถานศึกษาอย่างมากในทุกด้าน

     นายปรีชา เริงสมุทร์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสังคมอิสลามวิทยา หนึ่งในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า การเข้าร่วมประเมินภายนอกกับสมศ. การที่มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอุดมศึกษาเข้ามาช่วย ทำให้สถานศึกษาได้เห็นภาพที่ต้องพัฒนาอย่างชัดเจน อาทิ การดึงชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมสามารถตอบโจทย์ชุมชนได้ และการส่งเสริมสถานศึกษาสามารถเตรียมความพร้อมในการเป็นสถานศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง การส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ผลิตคนรุ่นใหม่ที่ตรงกับการพัฒนาประเทศ  

     ทั้งนี้…จากการที่ สมศ.ได้เริ่มนำร่องโครงการ กับสถานศึกษาจำนวน 12 แห่ง พบว่า สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่ง มีความพึงพอใจกับผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญจากสถาบันอุดมศึกษาเข้ามาให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด พร้อมกับวิเคราะห์หาจุดเด่น และจุดที่ควรปรับปรุงส่งเสริมให้เป็นไปตามเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษานั้น ๆ

ขอขอบคุณ

error: Content is protected !!